วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555



                            คีย์บอร์ดในอนาคต
       เมื่อพูดถึงคีย์บอร์ดอื่น ๆ ที่ในระบบคอมพิวเตอร์มา หลากหลายรูปแบบแล้ว  คาดว่าอีกไม่นานนี้จะมีคีย์บอร์ดที่นำออกสู่ตลาด ในเชิงธุรกิจ ที่ผลิตใน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดย AVING มีชื่อรุ่นว่า CL850 โดยการนำเสนอว่า คีย์บอร์ดรุ่นนี้จะเป็นอุปกรณ์อินพุทที่ได้รับการยอมรับ จากบริษัทที่ทำอุปกรณ์โมดูลด้านเซ็นต์เซอร์ซึ่งพัฒนาจากรุ่น CL800BT ว่ามีคุณภาพในด้านตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ และการส่งสัญญาณมีการจดจำค่าของอินพุทแต่ละอันได้โดยอุปกรณ์เซนต์เซอร์ที่ส่งมายังผู้ใช้ที่คอยตรวจจับสัญญาณ โดยมีการต่อสัญญาณเข้ากับระบบBluetooth และ USB โดยคุณสามารถเชื่อมต่อคีย์บอดเสมือนนี้เข้ากับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ,โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ไร้สายอื่น ๆ เช่นSmartPhones , PDAs ตลอดจนใหช้กับอุปกรณ์ PMPแต่ก็ต้องมาคำนึงในเรื่องของราคาด้วย เพราะราคาที่เกาหลีประมาณ100,000-200,000 วอนด์ หรือประมาณ     3,564-7,095 บาท โดยบริษัท Celluon เป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์อินพุทที่ประยุกต์ใช้แบบพกพาได้นี้ มีการวางแผนไว้ที่นำอุปกรณ์อินพุทแบบเสมือนนี้ออกสู่ตลาดในเชิงธุรกิจต่อไป 


บทสรุป
      คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่อาจจะเรียกว่าขาดไม่ได้เลยทีเดียวเพราะว่าส่วนของ Input เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบอีกแบบหนึ่งนับเป็นอุปกรณ์อินพุทแบบแรกๆทีเดียว นับตั้งแต่มีระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมาก็มีการพัฒนาส่วนที่เรียกว่า คีย์บอร์ดนั้น มีการปรับปรุงแบบ interface หรือหัวต่อหลายแบบ เช่น แบบPC/AT ,แบบ PS/2 ,แบบ USB จนมาถึงแบบไร้สาย (bluetooth)  นอกจากมีการเปลี่ยนเปลี่ยนทางด้านการเชื่อมต่อแล้ว คีย์บอร์ดยังมีวิวัฒนาการทางด้านอื่น ๆ เช่น มีการสนับสนุนทางด้านมัลติมีเดีย เพิ่มมากขึ้นมีบางรุ่นก็มีปุ่มเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานมากขึ้น แทนที่จะใช้คำสั่งก็อาจจะใช้ปุ่มที่เรียกว่า  Hot key เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน และ บางรุ่นก็สนับสนุนการเล่นเกมส์ หรือ การใช้งานด้านอื่น ๆ ตามนวัตกรรมที่มีการปรับปรุงไปตามกาลเวลา


อ้างอิง
  http://www.aving.co.kr








เทคโนโลยีในอนาคต
         เรื่อง.. คีย์บอร์ดในอนาคต
เสนอ
อาจารย์ อภิรักษ์ พันธุ์พณาสกุล
จัดทำโดย
นายประสพโชค แก้วบุญทอง
รหัส5508010119  กลุ่ม2
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา 100-119
พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการศึกษาที่2 ปีการศึกษา 2555

                              มหาวิทยาลัยหาดใหญ่